เงื่อนไขในการขอเงินประกันราคายางเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางในประเทศไทย

เกษตรกรมีเฮ รัฐบาลอนุมัติเงินประกันราคายาง

นับว่าเป็นข่าวดีอย่างยิ่งเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่รัฐบาลชุดก่อนมีการอนุมัติเงินประกันราคายาง หรือโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งถือได้ว่าเป็นประกันรายได้ยางพาราเฟส 4 แล้ว โดยเนื้อหาใจความสำคัญของเงินประกันราคายาง คือการช่วยเหลือชาวสวนยางที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคายางพารานั่นเอง ซึ่งชาวสวนยางที่เข้าร่วมเงินประกันยางพาราล่าสุดจะต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดของเงินประกันราคายาง คือ 1. เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้วภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 2. ผู้ได้สิทธิเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางต้องเป็นเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่ที่มีเอกสารให้สิทธิเท่านั้น 3. ผู้เข้าร่วมเงินประกันราคายางต้องกรีดยางในสวนยางที่อายุ 7 ปีขึ้นไป 4. ประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางคนละไม่เกิน 25 ไร่ ทั้งนี้ สำหรับท่านใดอยากตรวจสอบสถานะ ธกส โอนเงินประกันรายได้ชาวสวนยาง สามารถตรวจสอบทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ ธกส และแอพ ธกส

เงินประกันราคายาง ชดเชยรายได้กับชาวสวนยาง 2567

เงินประกันราคายาง เพื่อเป็นเงินชดเชยราคายางให้กับชาวสวนยางปี 2567 นับว่าเป็นโครงการที่ช่วยพยุงเกษตรให้มีคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา ชาวสวนยางค่อนข้างได้รับผลกระทบอยางหนักจากราคายางพาราที่ตกต่ำและผันผวนอย่างหนัก ทำให้รัฐบาลจัดตั้งโครงการเงินประกันราคายางขึ้นมา พร้อมกับอนุมัติการรับเงินผ่านทางออนไลน์ให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของเงินประกันราคายาง โดยวงเงินชดเชยนั้น จะแบ่งสัดส่วนออกเป็น 1. เจ้าของสวนยางได้ 60 % 2. เกษตรกรกรีดยางได้ 40% หากใครที่ต้องการเช็คเงินเยียวยาสวนยาง ก็ไปเช็คได้ที่แอพ ธกส หรือหากใครอยากติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับเงินประกันรายได้ยางพารา ก็สามารถติดตามได้จากข่าวล่าสุดที่รายงานข่าวเกี่ยวกับเงินประกันราคายางปี 2567 ซึ่งรวมถึงคนที่สงสัยว่าโครงการนี้ใครได้บ้าง ก็สามารถหาคำตอบได้ที่แหล่งข่าวล่าสุดได้เลย อนึ่ง เชื่อว่าในอนาคตข้างหน้า จะมีโครงการเยียวยาเกษตรกรอื่น ๆ อีกมากนอกเหนือจากมาตรการเยียวยาเกษตรกรสวนยาง

เงินประกันราคายาง พร้อมประกันยางทั้ง 3 ชนิด

สำหรับเงื่อนไขที่ต้องรู้เกี่ยวกับเงินประกันราคายาง คือการรับประกันราคายาง ซึ่งประกอบไปด้วยยาง 3 ชนิด ได้แก่ 1. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม จำนวนไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อเดือน 2. น้ำยางสด หรือ DRC 100% ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม จำนวนไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อเดือน 3. ยางก้อนถ้วย หรือ DRC 50% ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม จำนวนไม่เกิน 40 กิโลกรัมต่อเดือน โดยเจ้าของสวนยางจะได้ค่าเงินประกันราคายาง 60% และชาวสวนยางที่กรีดยางได้ 40% ของวงเงินชดเชย ในส่วนของช่องทางการรับเงินนั้น ท่านจะได้รับผ่านบัญชีธนาคาร ธกส และหากท่านใดต้องการเช็กสถานะเงินประกันรายได้ยางพารา ก็สามารถเช็กผ่านทางออนไลน์ได้ในแอพธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือไม่ก็เช็กสถานะเงินชดเชยราคายางได้ที่เว็บไซต์ ธกส ได้เลย

อัพเดทวันที่ 16 มกราคม 2567

Scroll to Top